วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปริมาณแลกเปลี่ยนหุ้นมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นอย่างไร?


ปริมาณแลกเปลี่ยนหุ้นมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นอย่างไร?

อย่าขายหุ้นในขณะที่ปริมาณแลกเปลี่ยนเบาบาง

มีคนบอกว่า “อย่าขายหุ้นในขณะที่ปริมาณแลกเปลี่ยนเบาบาง” นั่นหมายถึงว่าการขายหุ้นในยามที่ตลาดซบเซาเป็นนโยบายที่ผิดพลาด ตรงกันข้าม “ภาวะตลาดซบเซาเป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับการช้อนซื้อหุ้น” ต่างหาก จะเห็นได้ว่าปริมาณการแลกเปลี่ยนซื้อขายหุ้นมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นอย่างใกล้ชิด
“ปริมาณการแลกเปลี่ยน” นั้นหมายถึงปริมาณหุ้นที่ตกลงซื้อขายกันได้สำเร็จเรียบร้อยจริงๆ ในตลาดหุ้น ดังนั้นปริมาณแลกเปลี่ยนลดน้อยจึงอาจเป็นเพราะจำนวนคนบอกขายบอกซื้อน้อยลง หรือคนบอกขายมีมากแต่คนบอกซื้อมีน้อย หรืออาจเป็นคนบอกซื้อมีมากคนบอกขายมีน้อย ก็ได้ทั้งนั้น
เมื่อปริมาณการซื้อและการขายหุ้นมีความแตกต่างกันมาก มันย่อมไม่มีทางตกลงแลกเปลี่ยนซื้อขายได้สำเร็จ ในเวลาเช่นนี้มูลค่าหุ้นจะมีการขึ้นลงได้มาก บางครั้งเสนอขายแต่กับไม่มีคนซื้อ บางครั้งเสนอซื้อแต่ก็ซื้อไม่ได้เพราะมูลค่ามันสูงลิบลิ่ว แต่ว่าการขึ้นสูงของราคาหุ้นก็มิใช่จะพรวดพราดทันที ยกตัวอย่าง มีข่าวออกมาว่าบริษัทหนึ่งประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาได้สำเร็จ คนที่จะเฮโลแย่งกันซื้อ ในขณะเดียวกันผู้จะขายก็ได้ข่าวนี้เช่นกัน เมื่อเขาคิดถึงว่าควรจะรอให้ราคาหุ้นสูงกว่านี้แล้วค่อยขายออกไปดีกว่าเลยเกิดความเสียดายไม่ยอมขายหุ้นออกไป สมมุติว่าราคาหุ้นขณะปิดตลาดเมื่อวานนี้เป็น 725 เหรียญ ราคาหุ้นในวันนี้ย่อมไม่มีทางจะขึ้นพรวดพราดมาเป็น 800 หรือ 900 เหรียญได้ทันที แต่มันจะค่อยๆขึ้นมาทีละ 5 เหรียญ  10 เหรียญต่างหาก
นอกจากนี้แล้วช่วงการขึ้นหรือลงของมูลค่าหุ้นในแต่ละวันจะมีขีดจำกัดด้วย โดยกำหนดเอาราคาหุ้นขณะปิดตลาดของวันก่อนเป็นพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่นหุ้นตัวหนึ่งมีราคาปิดตลาด 725 เหรียญ ตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดอัตราจำกัดการขึ้นลงหรือช่วง (Spread) เอาไว้ 5% นั่นคือราคาหุ้นจะสามารถขึ้นไปได้สูงสุดเพียง 761 เหรียญ ถ้าหากราคาหุ้นในตลาดสูงขึ้นมาในระดับนี้ ก็จะมีการแขวนป้ายประกาศหยุดการซื้อขายเอาไว้ ณ จุดนี้ การจำกัดอัตราการขึ้นลงของมูลค่าหุ้นนี้เป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ให้แก่นักลงทุน เพื่อมิให้มีการขึ้นลงของมูลค่าหุ้นมากเกินไปอย่างเช่น “เมื่อวานนี้มูลค่าหุ้น 700 เหรียญ แต่วันนี้กลับเหลือเพียง 70 เหรียญ” ซื่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความปั่นป่วนขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม การเสนอซื้อหรือขายโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนจริงๆเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่พบได้น้อยมาก โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนจะต้องชั่งใจพิจารณาความสัมพันธ์ของปริมาณการแลกเปลี่ยนกับมูลค่าหุ้นเสมอและมีการเพิ่มหรือลดปริมาณการซื้อขายตามเหมาะสม แม้ว่ามูลค่าหุ้นจะมีการขึ้นลงแต่การซื้อขายก็มักจะดำเนินอยู่ตลอดไปและในภาวะตลาดซบเซา คนที่คิดจะเสนอซื้อหรือขายก็จะลดน้อยลงอย่างสัมพัทธ์ด้วย
เราอยากให้ผู้อ่านคิดแบบนี้ว่า ราคาวัตถุสินค้ากับราคาหุ้นนั้นไม่เหมือนกัน สินค้าราคาถูกลงจะมีคนซื้อเพิ่ม ราคาสินค้าแพงขึ้นคนขายก็จะสั่งสินค้ามาขายเพิ่มขึ้น ส่วนหุ้นนั้นกลับตรงกันข้าม ราคาหุ้นยิ่งตกคนบอกซื้อก็ยิ่งมีน้อย ราคาหุ้นยิ่งสูงคนบอกซื้อกลับมากขึ้นนั่นเป็นเพราะว่า การที่หุ้นตกจะต้องมีสาเหตุซื้อผู้ซื้อมักจะคิดว่ามันจะต้องตกต่อไปอีกเลยไม่กล้าซื้อ ในขณะเดียวกันผู้บอกขายที่เคยซื้อเข้ามาในราคาสูงก็ไม่อยากขายเพราะนั่นก็เท่ากับขาดทุน ผลสุดท้ายก็คือ “ความซบเซา” ที่มูลค่าหุ้นอยู่ในภาวะไม่เคลื่อนไหว ..........(ต่อคราวหน้านะครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น