วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จะอ่านหนังสือวิชาการเกียวกับหุ้นอย่างไร?

จะอ่านหนังสือวิชาการเกียวกับหุ้นอย่างไร?

การหาข้อมูลการประกอบการของแต่ละบริษัท โดยละเอียดจากตลาดหลักทรัพย์

                บางทีลำพังแต่การอ่านหนังสือพิมพ์หรือวารสาร  อาจจะไม่สามารถสนองความรู้เกี่ยวกับหุ้นให้เพียงพอได้  แต่ต้องการความรู้ที่ลึกซึ้งไปอีก  คนที่ต้องการศึกษาเรื่องหุ้นในเชิงวิชาการ  ที่ลึกซึ้งลงไปนั้นอาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 ได้แก่  คนที่ต้องการเข้าใจสภาพการเงินของบริษัท
กลุ่มที่ 2 ได้แก่  คนที่ต้องการรู้ข้อมูลราคาหุ้น  เช่น  การออกผลิตภัณฑ์ใหม่,  การใช้เทคโนโลยีแบบใหม่  เป็นต้น
กลุ่มที่ 3  ได้แก่  คนที่ต้องการศึกษาเทคนิคการลงทุน  เล่นหุ้นที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

          คนในกลุ่มแรกที่ต้องการรู้ข้อมูลและเข้าใจสภาพการเงินของบริษัทนั้น  ควรจะต้องอ่านหนังสือความรู้พื้นฐานในด้านการบัญชี  เช่น  วิธีอ่านตารางงบดุลบัญชี,  การบริหารการบัญชี  เป็นต้น  เพื่อเป็นความรู้ในการศึกาสภาพการเงินของบริษัท  ซึ่งจะมีการรายงาน  เป็นตารางแบบต่างๆ  ออกมา  อาทิเช่น 
                ตารางแสดงภาวะหนี้สินของบริษัทฯ  จะเป็นตารางแสดงสภาวะการเงินของบริษัทในเวลาปิดงบดุลบัญชี  ตารางนี้จะบอกให้ทราบถึงความมั่นคงของบริษัท  ซึ่งเราอาจจะพิจารณาได้จากอัตราการลงทุน,  อัตราการชำระหนี้,  อัตราการหมุนเวียนของทุน  ได้ด้วย
                ตารางแสดงผลกำไรขาดทุน  เป็นตารางที่แสดงค่าผลกำไรขาดทุนสุทธิ  ที่ได้มาจากการเปรียบเทียบรายรับกับรายจ่ายของในแต่ปีงบดุล  ตารางนี้จะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของผลกำไรขาดทุน สุทธิที่ผ่านมา  ดังนั้น  เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว  ตารางผลกำไรขาดทุนจะบอกให้ทราบถึงกำไรขาดทุนของบริษัทในลักษณะที่  เคลื่อนไหว  แต่ตารางแสดงภาวะหนี้สินจะแสดงกำไรขาดทุนในลักษณะที่  หยุดนิ่ง   ณ จุดเวลที่มีการปิดงบดุลของบริษัท
                ตารางการจัดสรรผลกำไร  เป็นตารางที่แสดงถึงการจัดสรรแบ่งปันผลกำไรของบริษัท  ผลกำไรที่จะนำเอามาแบ่งปันประกอบด้วย  ผลกำไรสะสมที่ยกยอดมาจากครั้งก่อน  รวมด้วยผลกำไรสุทธิของครั้งนี้  เมื่อนำเอาผลกำไรเหล่านี้มาแบ่งปันให้แก่ผู้ถือหุ้น  หรือหักมอบเป็นรางวัลแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงานแล้ว  ผลกำไรส่วนที่เหลือก็จะถูกยกยอดกลายเป็นผลกำไรสะสมสำหรับครั้งต่อไป
                นอกจากนี้  ยังอาจมีตารางคำอธิบายผนวก  ซึ่งจะมีข้อมูลและข้อความอธิบายเพิ่มเติมสำหรับตารางต่างๆ  เพื่อให้ทราบรายละเอียดมากขึ้นอีกด้วย

                ตารางการเงินการบัญชีต่างๆ  เหล่านี้  โดยทั่วไปจะมีการประกาศแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบ  และจะต้องผ่านการเห็นชอบยอมรับจากที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น  กล่าวสำหรับผู้ถือหุ้นแล้ว  อาจจะอ่านข้อมูลได้จากหนังสือ  รายงานของบรัทที่แจ้งมาก็ได้แล้ว  ส่วนผู้ที่ไม่ได้ถือหุ้น  แต่ต้องการจะทราบข้อมูลการประกอบกิจการของบริษัท   เหล่านี้ก็อาจจะติดต่อขออ่านได้จากตลาดหลักทรัพย์  ซึ่งจะมีข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับสภาพการณ์ทั่วไปของบริษัท,  ภาวะทางการเงิน,  การบริหารดำเนินการ ฯลฯ  ที่มีเนื้อหาละเอียดมากกว่าตารางงบดุลบัญชี  ผู้ที่ต้องการเล่นหุ้นก็สามารถจะอาศัยข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์  เพื่อให้สามารถเข้าในสภาพการณ์ของบริษัท  ได้ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม  บริษัทอาจจะมีการตกแต่งแก้ไขตัวเลขในบัญชีเพื่อปกปิดบิดเบือนสภาพการณ์ที่แท้จริงก็ได้  และถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้นจริง  ไม่ว่าจะวิเคราะห์ตัวเลขจากตารางอย่างไร
มันก็ย่อมไม่มีทางที่จะทราบข้อเท็จจริงได้  นี่คือข้อจำกัดของการวิเคราะห์ภาวะทางการเงินจากตารางเหล่านี้
READ MORE - จะอ่านหนังสือวิชาการเกียวกับหุ้นอย่างไร?

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปริมาณแลกเปลี่ยนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บอกใบ้ว่า มูลค่าหุ้นจะถึงจุดสุดยอด


ปริมาณแลกเปลี่ยนหุ้นมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นอย่างไร? ตอนที่ 2
ปริมาณแลกเปลี่ยนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บอกใบ้ว่า มูลค่าหุ้นจะถึงจุดสุดยอด
เมื่อปริมาณหุ้นอยู่กับที่ ไม่เปลี่ยนแปลง คนส่วนใหญ่จะรู้สึกอึกอัด แล้วผู้ที่ถือหุ้นอยู่ในมือก็จะเปิดฉากบอกขายก่อน ทันทีที่ภาวะสมดุลนี้ถูกพังทลายลง บรรดาผู้ขายที่หลับหูหลับตาเชื่อก็จะเฮโลเข้าร่วมตลาดการขาย มูลค่าหุ้นก็จะเริ่มสะท้อนกลับเหมือนกับลูกบอลที่ถูกเตะกลิ้งไปแล้วเด้งกลับมา ทันทีที่มูลค่าหุ้นเริ่มขึ้น ผู้ซื้อที่สงบนิ่งมานานก็จะแย่งกันซื้อหุ้นในราคาที่ถูก ยิ่งมูลค่าหุ้นสูงขึ้นมา คนที่คิดอยากขายก็จะมากขึ้น ทำให้ปริมาณการแลกเปลี่ยนค่อยๆกลับสูงขึ้นมาอีก
ในช่วงเวลาที่มูลค่าหุ้นเริ่มขึ้นนี้ ข้อมูลมูลค่าหุ้นที่เคยถูกมองข้ามก็จะกลับกลายมาเป็นที่สนใจและมีความสำคัญขึ้นมา ทั้งๆที่บางชิ้นก็เป็นข่าวที่ไม่มีคุณค่าทางการค้าอะไรเลย เมื่อข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบกิจการที่เจริญรุดหน้าและการพัฒนาเทคโนโลยีมีมากขึ้น ถ้าหากใครซื้อหุ้นไม่ทันก็ย่อมจะรู้สึกว่าขาดทุน พวกนักเล่นหุ้นมืออาชีพหรือคนในวงการมักจะแย่งเข้ามาซื้อหุ้นได้ก่อน ส่วนนักลงทุนทั่วๆไปนั้นกว่าจะเข้ามาซื้อได้ก็ล้าหล้งไปตั้งมากแล้ว ทั้งนี้เพราะพวกเขาตัดสินใจค่อนข้างช้า ผู้ที่ถือหุ้นเอาไว้อยู่แต่เดิมและผู้ที่แย่งซื้อหุ้นมาได้ในระยะแรกก็จะเข้าแถวกันบอกขายหุ้น ทำให้ปริมาณแลกเปลี่ยนหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความจริงเมื่อปริมาณแลกเปลี่ยนหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มันบอกใบ้แสดงว่ามูลค่าหุ้นกำลังจะถึงจุดสุดยอดแล้ว มีคำกล่าวว่า “เวลาตลาดซบเซา อย่าขายหุ้น” แต่มันควรจะมีคำกล่าวในทางตรงกันข้ามว่า “เวลาตลาดคึกคัก อย่าซื้อหุ้น” เหมือนกันด้วยกระมัง! จุดสุดยอดของมูลค่าหุ้นก็คือ สัญญาณบอกโอกาสของการขาย ซื่งจะเห็นได้จากเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 ของมูลค่าในยามซบเซา ตัวอย่างเช่นในยามตลาดซบเซา ปริมาณการแลกเปลี่ยนมีเพียง 2-3 หมื่นหุ้นต่อวัน ต่อมาเพิ่มมาเป็น 1 แสนและกลายมาเป็น 1 ล้านหุ้น ภาวะที่เร่าร้อนเช่นนี้แหละคือโอกาสดีของการขายหุ้นแล้ว นอกจากนี้แล้วถ้าหากภายใน 1-2 สัปดาห์มีปริมาณการแลกเปลี่ยนหุ้นประจำวันมากๆ โดยยกเว้นหุ้นใหญ่แล้ว นั่นก็ถือเป็นโอกาสของการขายหุ้นแล้วเช่นกัน
ในยามที่ปริมาณการแลกเปลี่ยนเพิ่มขยายขึ้นนั้น จะต้องมีคนซื้อหุ้นเป็นจำนวนมาก คนที่ซื้อหุ้นจำนวนมากๆเหล่านี้ย่อมจะต้องเสียดายในภายหลังแน่นอน เพราะมันจะต้องเป็นการซื้อหุ้นในราคาที่สูง และทันทีที่ซื้อเข้ามา เขาจะต้องตกอยู่ในภาวะตกต่ำอย่างยาวนาน
ควรจะอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งว่า มูลค่าหุ้นจะแสดงความเป็น “มูลค่า“ ออกมาได้ก็ต่อเมื่อมันประสานอยู่กับปริมาณแลกเปลี่ยน มูลค่าหุ้นที่ไม่มีการแลกเปลี่ยน ย่อมอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง ดังนั้นจึงมีคนถือเอาการเพิ่มปริมาณแลกเปลี่ยนของหุ้นมาเป็นตัวตัดสินระดับมูลค่า ในยามซบเซาหุ้นที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาทันทีอย่างพรวดพราด ก็อาจจะหมดมูลค่าไปอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน แต่ถ้ามันมีปริมาณการแลกเปลี่ยนสูงตามไปด้วย นั่นก็ยืนยันได้เลยว่ามันเป็นราคาที่แท้จริงของหุ้นอย่างแน่นอน
READ MORE - ปริมาณแลกเปลี่ยนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว บอกใบ้ว่า มูลค่าหุ้นจะถึงจุดสุดยอด

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปริมาณแลกเปลี่ยนหุ้นมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นอย่างไร?


ปริมาณแลกเปลี่ยนหุ้นมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นอย่างไร?

อย่าขายหุ้นในขณะที่ปริมาณแลกเปลี่ยนเบาบาง

มีคนบอกว่า “อย่าขายหุ้นในขณะที่ปริมาณแลกเปลี่ยนเบาบาง” นั่นหมายถึงว่าการขายหุ้นในยามที่ตลาดซบเซาเป็นนโยบายที่ผิดพลาด ตรงกันข้าม “ภาวะตลาดซบเซาเป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับการช้อนซื้อหุ้น” ต่างหาก จะเห็นได้ว่าปริมาณการแลกเปลี่ยนซื้อขายหุ้นมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นอย่างใกล้ชิด
“ปริมาณการแลกเปลี่ยน” นั้นหมายถึงปริมาณหุ้นที่ตกลงซื้อขายกันได้สำเร็จเรียบร้อยจริงๆ ในตลาดหุ้น ดังนั้นปริมาณแลกเปลี่ยนลดน้อยจึงอาจเป็นเพราะจำนวนคนบอกขายบอกซื้อน้อยลง หรือคนบอกขายมีมากแต่คนบอกซื้อมีน้อย หรืออาจเป็นคนบอกซื้อมีมากคนบอกขายมีน้อย ก็ได้ทั้งนั้น
เมื่อปริมาณการซื้อและการขายหุ้นมีความแตกต่างกันมาก มันย่อมไม่มีทางตกลงแลกเปลี่ยนซื้อขายได้สำเร็จ ในเวลาเช่นนี้มูลค่าหุ้นจะมีการขึ้นลงได้มาก บางครั้งเสนอขายแต่กับไม่มีคนซื้อ บางครั้งเสนอซื้อแต่ก็ซื้อไม่ได้เพราะมูลค่ามันสูงลิบลิ่ว แต่ว่าการขึ้นสูงของราคาหุ้นก็มิใช่จะพรวดพราดทันที ยกตัวอย่าง มีข่าวออกมาว่าบริษัทหนึ่งประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาได้สำเร็จ คนที่จะเฮโลแย่งกันซื้อ ในขณะเดียวกันผู้จะขายก็ได้ข่าวนี้เช่นกัน เมื่อเขาคิดถึงว่าควรจะรอให้ราคาหุ้นสูงกว่านี้แล้วค่อยขายออกไปดีกว่าเลยเกิดความเสียดายไม่ยอมขายหุ้นออกไป สมมุติว่าราคาหุ้นขณะปิดตลาดเมื่อวานนี้เป็น 725 เหรียญ ราคาหุ้นในวันนี้ย่อมไม่มีทางจะขึ้นพรวดพราดมาเป็น 800 หรือ 900 เหรียญได้ทันที แต่มันจะค่อยๆขึ้นมาทีละ 5 เหรียญ  10 เหรียญต่างหาก
นอกจากนี้แล้วช่วงการขึ้นหรือลงของมูลค่าหุ้นในแต่ละวันจะมีขีดจำกัดด้วย โดยกำหนดเอาราคาหุ้นขณะปิดตลาดของวันก่อนเป็นพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่นหุ้นตัวหนึ่งมีราคาปิดตลาด 725 เหรียญ ตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดอัตราจำกัดการขึ้นลงหรือช่วง (Spread) เอาไว้ 5% นั่นคือราคาหุ้นจะสามารถขึ้นไปได้สูงสุดเพียง 761 เหรียญ ถ้าหากราคาหุ้นในตลาดสูงขึ้นมาในระดับนี้ ก็จะมีการแขวนป้ายประกาศหยุดการซื้อขายเอาไว้ ณ จุดนี้ การจำกัดอัตราการขึ้นลงของมูลค่าหุ้นนี้เป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ให้แก่นักลงทุน เพื่อมิให้มีการขึ้นลงของมูลค่าหุ้นมากเกินไปอย่างเช่น “เมื่อวานนี้มูลค่าหุ้น 700 เหรียญ แต่วันนี้กลับเหลือเพียง 70 เหรียญ” ซื่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความปั่นป่วนขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม การเสนอซื้อหรือขายโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนจริงๆเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่พบได้น้อยมาก โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนจะต้องชั่งใจพิจารณาความสัมพันธ์ของปริมาณการแลกเปลี่ยนกับมูลค่าหุ้นเสมอและมีการเพิ่มหรือลดปริมาณการซื้อขายตามเหมาะสม แม้ว่ามูลค่าหุ้นจะมีการขึ้นลงแต่การซื้อขายก็มักจะดำเนินอยู่ตลอดไปและในภาวะตลาดซบเซา คนที่คิดจะเสนอซื้อหรือขายก็จะลดน้อยลงอย่างสัมพัทธ์ด้วย
เราอยากให้ผู้อ่านคิดแบบนี้ว่า ราคาวัตถุสินค้ากับราคาหุ้นนั้นไม่เหมือนกัน สินค้าราคาถูกลงจะมีคนซื้อเพิ่ม ราคาสินค้าแพงขึ้นคนขายก็จะสั่งสินค้ามาขายเพิ่มขึ้น ส่วนหุ้นนั้นกลับตรงกันข้าม ราคาหุ้นยิ่งตกคนบอกซื้อก็ยิ่งมีน้อย ราคาหุ้นยิ่งสูงคนบอกซื้อกลับมากขึ้นนั่นเป็นเพราะว่า การที่หุ้นตกจะต้องมีสาเหตุซื้อผู้ซื้อมักจะคิดว่ามันจะต้องตกต่อไปอีกเลยไม่กล้าซื้อ ในขณะเดียวกันผู้บอกขายที่เคยซื้อเข้ามาในราคาสูงก็ไม่อยากขายเพราะนั่นก็เท่ากับขาดทุน ผลสุดท้ายก็คือ “ความซบเซา” ที่มูลค่าหุ้นอยู่ในภาวะไม่เคลื่อนไหว ..........(ต่อคราวหน้านะครับ)
READ MORE - ปริมาณแลกเปลี่ยนหุ้นมีความสัมพันธ์กับมูลค่าหุ้นอย่างไร?

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หุ้นตกมาก ๆ รีบขายออกไป


หุ้นตกมาก ๆ รีบขายออกไป

                กล่าวสำหรับนักเล่นหุ้นมือใหม่แล้ว ถ้าตั้งเป้าอยู่ที่ผลประโยชน์จากการเพิ่มราคาหุ้นราคาหุ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยการซื้อหุ้นร้อนที่มีลักษณะการเก็งกำไรสูงแล้ว มันเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายเหลือเกิน ต้องจำเอาไว้ว่า อย่าได้แย่งซื้อหุ้นร้อนเด็ดขาด แต่ถ้าหากคุณคิดจะซื้อให้ได้จริง ๆ ก็ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์ ดึงบังเหียนม้า เมื่อถึงปากเหว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                นักลงทุนทุกคนหนึ่งเอาใบหุ้นที่เขาถืออยู่มาให้ข้าพเจ้าดู ข้าพเจ้าเห็นแล้วใจหายวาบขึ้นมาทันที เพราะเป็นหุ้นร้อนที่ซื้อมาในช่วงตลาดคึกคัก แต่ว่านับจากที่เขาซื้อมาราคามันก็ตกลงมาโดยตลอด หุ้นแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาว บางครั้งมันอาจดูอร่อยน่ารับประทาน แต่การเก็บเอาไว้นาน ๆ มีแต่ต้องขาดทุนก้อนใหญ่ แน่นอนมันอาจมีการพลิกตัวราคาสูงขึ้นมาก็ได้ แต่ว่าการเก็บเอาไว้นาน ๆ ก็ไม่แน่ว่าจะถูกต้องเสมอ
                มีนักลงทุนที่หวังผลระยะยาวคนหนึ่งกล่าวถึงประสบการณ์ของตนเองว่า คนทั่วไปมักจะขายหุ้นในช่วงที่ราคาสูง แต่หยุดนิ่งเมื่อหุ้นราคาตก สำหรับข้าพเจ้าแล้วมันกลับตรงกันข้าม เมื่อหุ้นราคาตกข้าพเจ้าจะรีบขายออกไป แต่เวลาที่หุ้นราคาขึ้น ข้าพเจ้ากลับอยู่นิ่ง ๆ เพราะว่าการถือหุ้นเอาไว้ในช่วงราคาตก ตรงกันข้าม หุ้นที่ราคาขึ้นอาจได้กำไรถึง 2-3 เท่าก็ได้ รสชาติของการลงทุนเล่นหุ้นที่เยี่ยมที่สุดอยู่ตรงนี้นี่เอง
                ในเวลาที่หุ้นราคาตกทั้งกระดานนั้น การถือใบหุ้นเอาไว้นาน ๆ อาจจะต้องกลายเป็นหนึ่งในบรรดาหุ้นที่ราคาตกก็ได้ แต่ถ้าหากเลือกซื้อหุ้นไม่ผิดตัว ราคามันก็ต้องกลับสูงขึ้นมาได้ในวันใดวันหนึ่ง การรอคอยด้วยความสงบนั้นก็จะเป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้อง มีคนกล่าวว่า ถ้าหากเลือกซื้อหุ้นไม่ผิด การลงหทุนเล่นหุ้นไม่มีขาดทุนเป็นอันขาด ขอแต่เก็บเอาไว้ด้วยความอดทน ราคามันย่อมจะสูงกว่าตอนซื้อมาอย่างแน่นอน ถ้าฝ่ายหนึ่งได้กำไรมาโดยตลอด อีกฝ่ายก็ย่อมไม่มีทางจะขาดทุนโดยตลอดเช่นกัน
                ถ้ามองว่า การเก็บหุ้นเอาไว้ในยามที่หุ้นราคาตกนั้น เป็นการรับมืออย่างเป็นฝ่ายถูกกระทำแล้วละก็ การฉวยโอกาสช้อนหุ้นในยามราคาตกก็เป็นการรับมืออย่างเป็นฝ่ายกระทำ ตัวอย่างเช่น ซื้อหุ้นมาในราคาหุ้นละ 500 เหรียญ แต่ราคาหุ้นตกลงไปเหลือเพียง 400 เหรียญ ถ้าเชื่อมั่นว่า ตัวเองเลือกหุ้นไม่ผิด อาจจะซื้อหุ้นเดิมเข้ามาอีกในจำนวนที่เท่ากัน เช่นนี้ต้นทุนก็จะกลายเป็นหุ้นละ 450 เหรียญ ถ้าหากราคาหุ้นกลับสูงขึ้นไปเป็น 500 เหรียญ นั่นก็จะได้กำไรแล้ว กลยุทธ์การเล่นหุ้นแบบนี้ ดูเหมือนง่าย แต่ความจริงแล้ว กลับเล่นยากมาก เพราะว่าเมื่อหุ้นราคาตก คนเรามักมีความรู้สึกว่า มันจะตกดิ่งลงไปตลอด การซื้อหุ้นเข้ามาอีกจึงต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างมากเลยทีเดียว
                หนังสือหลายเล่มแนะนำให้คนไล่ล่าซื้นหุ้น แต่คนที่จะทำเช่นนี้ได้นั้นมีน้อยเหลือกิน คนที่จะไล่ล่าซื้อหุ้นได้ จะต้องเป็นคนที่มีเงินและเวลาที่เพียงพอเท่านั้นจึงจะทำได้
READ MORE - หุ้นตกมาก ๆ รีบขายออกไป

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากปริมาณการซื้อขายคือโอกาสที่ดี


ราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากปริมาณการซื้อขายคือโอกาสที่ดี

คุณ B เป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง อายุ 43 ปี มีประสบการณ์ในการลงทุนเล่นหุ้นมาแล้ว 5 ปี แรกเริ่มเขาพบกับความพ่ายแพ้มาโดยตลอด จนสภาพจิตใจตกอยู่ในความหวาดกลัวอยู่ตลอดทั้งวัน แต่ผ่านความล้มเหลวหลายๆครั้ง ในที่สุดคุณ B ก็สามารถค้นพบวิธีการที่ดีออกมาได้นั่นคือในช่วงเวลาที่ราคาหุ้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเขาก็จะทุ่มลงทุนเล่นกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีเงินทุนอยู่ถึง 1 ล้านเหรียญ แต่ถ้าถือหุ้นหลายตัวย่อมไม่มีสมาธิที่จะรวมศูนย์ความคิดได้ ตัวนี้จะได้กำไรไหม? การคิดถึงกำไรขาดทุนแบบนี้ยุ่งยากมาก ในที่สุดคุณ B  จึงตัดสินใจเล่นหุ้นเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น
แต่ว่าคุณ B ไม่ได้เล่นหุ้นร้อน ที่ผู้คนซื้อขายกันคึกคัก หากเขากลับมามองที่หุ้นตัวที่แต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงมากๆเลย แต่เพิ่งเริ่มมีปรากฏการณ์ของการเพิ่มราคาหุ้นในช่วงใกล้ๆนี้ คุณ B ก็จะรีบซื้อเอามาทันที จากประสบการณ์ของคุณ B นั้น หุ้นที่ไม่ได้รับความสนใจมาเป็นเวลานานๆ เวลาที่ราคาหุ้นมันขึ้นมาแล้วไม่ต้องกังวลใจเลยว่าราคามันจะตกลงง่ายๆ อย่างน้อยก็ 3 เดือนหรือบางครั้งอาจอยู่ได้นานถึง ½-1 ปีก็มี ขณะนี้หุ้นที่อยู่ในมือของคุณ B ล้วนทำกำไรมาแล้วทั้งสิ้น แต่เขาก็ยังต้องการที่จะดูสถานการณ์ต่อไปอีก
บรรทัดฐานที่ดีที่สุดในการพิจารณาว่าราคาหุ้นจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็คือ การเพิ่มสูงของปริมาณการซื้อขาย  เมื่อราคาหุ้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายก็มีการเพิ่มขึ้น บรรดาหนังสือพิมพ์ก็จะเริ่มค้นคว้า วิเคราะห์หาค่า PER ถ้าหากยอมรับก็ลงมือซื้อได้ อย่างไรก็ตามควรจะต้องวิเคราะห์สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมประกอบร่วมด้วย
การใช้วิธีการแบบนี้ อาจทำให้โอกาสซื้อล่าช้าออกไปบ้าง แต่มันก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ คุณ B กล่าวเอาไว้ว่า จังหวะโอกาสในการขายหุ้นนั้นจับได้ยากกว่าการซื้อ เนื่องจากทุ่มทุนลงไปที่หุ้นเพียงแค่ 1-2 ตัวเท่านั้น ถ้าหากเกิดขาดทุนขึ้นมา ก็หมดกันไปเลย ความเครียดทางจิตใจจึงเพิ่มมากเป็นทวีคูณหุ้นที่ต่างชนิดกันย่อมต้องกำหนดบรรทัดฐานในการขายที่ต่างกันไป เมื่อราคาหุ้นถึงระดับที่เป็นบรรทัดฐานนี้แล้วก็จึงค่อยขายออกไป แต่ว่าเงินที่ได้มาจากการขายอย่าเพิ่งรีบเอาไปลงทุนซื้อหุ้นตัวอื่นต่อไปเลยทันที ควรจะดูสถานการณ์สักพักเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยทำการลงทุน
ไม่ว่าจะเป็นคุณ A หรือ คุณ B เคล็ดลับความสำเร็จของพวกเขาก็คือ การยืนหยัดในวิธีคิดของตัวเอง ไม่โอนเอนไปตามคำชักชวนของผู้อื่น และไม่เอียงซ้าย บ่ายขวาไปตามหุ้นที่บริษัทนายหน้าเสนอมา กลยุทธ์ของคุณ A คือ “ซุ่มซ่อนโจมตี”  และ  “กระจายการลงทุน”  ส่วนของคุณ B นั่นคือ “ซื้อหุ้นที่กำลังเปลี่ยนแปลง”  และ  “รวมศูนย์ลงทุน”  แน่นอนทั้งสองมีความแตกต่างกันอยู่ แต่จุดร่วมของพวกเขาก็คือ  “ซื้อเข้ามาในขณะราคาถูก”  ซื่งก็ตรงกับหลักการพื้นฐานของการเล่นหุ้นอันได้แก่  “ซื้อถูกขายแพง”  นั่นเอง
READ MORE - ราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากปริมาณการซื้อขายคือโอกาสที่ดี

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คนที่ได้กำไรเล่นหุ้นกันอย่างไร ภาค 1


คนที่ได้กำไรเล่นหุ้นกันอย่างไร

ซื้อถูกขายแพงแทบทั้งสิ้น

การคิดจะได้กำไรจากการเล่นหุ้นนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้และยุทธวิธีการเล่นแล้วปมเงื่อนสุดท้ายที่จะตัดสินการแพ้ชนะก็คือ ความสามารถในการตัดสินใจลงมือปฏิบัติ ถ้าหากคุณเป็นคนที่เอนซ้ายเอนขวาไปมาตามคนรอบข้างหรือตามความเห็นของผู้อื่น ก็ย่อมไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ คนที่ใจอ่อนไม่เด็ดเดี่ยวหรือคิดว่าตัวเองเก่งเสมอ ก็เป็นคนที่ไม่มีทางจะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ถ้าเช่นนั้นจะต้องเป็นคนแบบไหนกันเล่า? ขอให้เราดูจากตัวอย่างต่อไปนี้
คุณ A เป็นเจ้าของกิจการบริษัทขนาดกลางแห่งหนึ่ง เคยไปกินเลี้ยงสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ได้ยินเพื่อนๆคุยกันถึงเรื่องหุ้นขึ้นราคา เลยเกิดสนใจอยากซื้อหุ้นขึ้นมา จึงได้ลงทุนเล่นหุ้นไป นับมาถึงตอนนี้กินเวลาเล่นหุ้นไปเกือบสิบปีแล้ว ในตอนแรกนั้นเขาเล่นหุ้นด้วยการรับฟังความเห็นของตัวแทนบริษัทนายหน้ามาตลอด ต่อมาภายหลังเขารู้สึกว่า ในเมื่อตัวเองลงทุนไปแล้ว ส้มานะพยายามทำด้วยตัวเองจะดีกว่า และสิ่งที่คุณ A ภูมิใจมากที่สุดคือเขาไม่เคยเล่นหุ้นขาดทุนเลย
                คุณ A มีข้อกำหนดในการซื้อขายหุ้นเอาไว้ 3 ข้อ คือ
1.       เลือกซื้อหุ้นที่ดีเป็นเป้าหมาย
2.       กระจายการลงทุน
3.       ซื้อถูกขายแพง
ข้อแรกที่ว่า เลือกเล่นหุ้นที่ดีเป็นเป้าหมายนั้นหมายความว่า ไม่ซื้อขายหุ้นที่อยู่นอกวงการ แต่เลือกซื้อเฉพาะหุ้นชั้นนำที่อยู่แนวหน้าของกิจการต่างๆ บางทีอาจมีคนมองว่าเป็นการลงทุนที่ดื้อรั้นไม่รู้จักพลิกแพลง แต่ถ้ามองด้วยสายตามยาวไกลแล้ว “การยึดมั่นในสิ่งที่ดี” เช่นนี้แหละที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จประการหนึ่ง
        ข้อสองคือการกระจายการลงทุน นั่นคือคุณ A จะไม่ยอมนำเอาเงินทุนไปทุ่มเล่นอยู่ที่หุ้นเพียงตัวใดตัวหนึ่ง เพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้นเป็นอันขาด ปัจจุบันนี้คุณ A มียอดเงินที่ลงทุนรวมประมาณ 10 ล้านเหรียญ ทั้งๆที่ขณะเริ่มต้นเล่นเมื่อ 10 ปีก่อนเขามีทุนเพียง 1 ล้านเหรียญ นั่นคือว่าทุนขยายขึ้นมาเป็น 10 เท่าหรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มทุนในช่วง 10 ปีนี้เท่ากับปีละ 30 เปอร์เซ็นต์
        ขณะนี้คุณ A มีหุ้นอยู่ทั้งหมด 9 ตัว ยอดการลงทุนในหุ้นแต่ละตัวจะไม่เท่ากันมีตั้งแต่ 3 แสนเหรียญ ไปจนถึง 5 ล้านเหรียญ ชนิดการประกอบการของหุ้นก็มีตั้งแต่หุ้นกิจการก่อสร้างไปจนถึงอิเล็กทรอนิกส์ และมีการปรับเปลี่ยนหุ้นกิจการอุปโภคบริโภคภายในประเทศกลายมาเป็นหุ้นกิจการด้านเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ตามกระแสสถานการณ์ด้วย
        ข้อสาม คือซื้อถูกขายแพง ความจริงแล้วการที่จะบอกว่าหุ้นราคาถูกหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก คำว่า “ถูก” โดยทั่วไปแล้วหมายถึง ราคาหุ้นตกลงมาจากค่าสูงสุดสัก 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าเมื่อซื้อแล้วหุ้นก็ยังอาจตกลงไปอีกจนกระทั่งถึงระดับราคาหน้าใบหุ้นเลยก็ได้ ดังนั้นทางที่ดีไม่ควรลงทุนในช่วงที่หุ้นกำลังอยู่ในระหว่างเวลาที่ลงเช่นนี้ ควรจะรอให้ราคามันกลับขึ้นมาเล็กน้อยเสียก่อน เพราะนั้นคือโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนแล้วล่ะ
(เอาไว้มาต่อกันนะ คราวหน้ามีเคสคุณ B… )
READ MORE - คนที่ได้กำไรเล่นหุ้นกันอย่างไร ภาค 1