วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

สาเหตุของความพ่ายแพ้ในการเล่นหุ้นอยู่ตรงไหน ?

สาเหตุของความพ่ายแพ้ในการเล่นหุ้นอยู่ตรงไหน ?

คนที่เก็บหุ้นไม่อยู่มักจะต้องพ่ายแพ้

            ถ้าหากรู้ว่าจะขาดทุนเสียก่อน  รับรองได้ว่าไม่มีใครคนไหนยอมซื้อหุ้นเป็นอันขาด  คนเล่นหุ้นทุกคนย่อมหวังว่าตนเองจะได้กำไร  แต่ผลลัพธ์การลงทุนของแต่ละคนที่ปรากฎออกมากลับสามารถแตกต่างกันได้ราวฟ้าและดิน  ต่อไปนี้คือตัวอย่างของผู้ที่พ่ายแพ้

คุณ เป็นแม่บ้านมีประสบการณ์ในการเล่นหุ้นมาแล้ว  2  ปี  โดยเริ่มต้นเล่นด้วยเงินทุนประมาณ  1  ล้านเหรียญ  ภายในเวลา  2  ปีนี้เธอขาดทุนไปแล้วถึง  3  แสนเหรียญ คงเหลือทุนอยู่เพียงแค่  7  แสนเหรียญเท่านั้น  สาเหตุสำคัญที่ทำให้เธอพ่ายแพ้อยู่ที่ว่า  เธอไม่สามารถจะสร้างวิธีคิดของตัวเองขึ้นมาได้  หากแปรเปลี่ยนไปตามคนรอบข้างอยู่แทบทุกขณะ  ในเวลาที่หุ้นราคาตกเธอซื้อหุ้นเก็บเอาไว้  แต่ต่อมาก็รู้สึกร้อนใจว่าทำไมไม่เห็นหุ้นขึ้นราคา  เลยเปลี่ยนไปซื้อ  หุ้นร้อน  แทน  เธอไม่คิดเลยว่าหุ้นที่ตัวเองเพิ่งจะขายทิ้งไปนั้นกลับมีราคาสูงขึ้น  ส่วนหุ้นร้อนที่เพิ่งจะซื้อมาใหม่กลับตกฮวบฮาบลงไป  นอกจากนี้บางครั้งเธอก็เลือกลงทุนซื้อหุ้นที่ดูว่าดีเอาไว้แล้ว  แต่พอเห็นราคามันตกลงไปนิดหน่อยก็ใจไม่ค่อยดี  ผลสุดท้ายเลยต้องขายทิ้งไปในราคาที่ต่ำที่สุด  มาถึงวันนี้คุณ  C  ได้เปลี่ยนความคิดใหม่แล้ว  นั่นคือจะต้อง ซื้อถูกขายแพง  เท่านั้น  ขณะนี้เธอถือหุ้นเอาไว้หลายประเภทกิจการ  ย่อมไม่มีทางขาดทุนไปเสียทั้งหมดเป็นแน่  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเธอก็คือ  ต้องมีความอดทนเก็บหุ้นเอาไว้ให้ได้

คุณ D มีอาชีพเป็นแพทย์  ในปี 1983  มีพนักงานบริษัทหลักทรัพย์  มาชวนให้เล่นหุ้น  เขาจึงตัดสินใจลงทุน  เนื่องจากงานอาชีพยุ่งมาก  คุณ D จึงได้มอบอำนาจให้ตัวแทนจากบรัทหลักทรัพย์ทำหน้าที่จัดการแทนทั้งหมด  ในวันหนึ่งคุณ D พบว่าลงทุนมาแล้ว  3 ปีขาดทุนไปแล้ว 3 ล้านเหรียญ  เงินทุนเริ่มต้นที่มีอยู่ 5 ล้านเหรียญในตอนนี้  กลับเหลืออยู่ไม่ถึงครึ่ง  สภาพของคุณ D เช่นนิ้  เป็นผลมาจากการที่มอบอำนาจให้ตัวแทนบริษัทโบรกเกอร์จัดการแทนทั้งหมด  มาตั้งแต่เริ่มแรก  กระทั่งการซื้อหุ้นขายหุ้นด้วยเงินเชื่อ  คุณ D ก็ยังยอมตกลงไปโดยไม่รู้สถานการณ์อะไรเลย  ถึงแม้ว่าขณะนี้จำนวนการซื้อขายจะลดน้อยลงแต่ คุณ D ก็ยังสรุปออกมาไม่ได้เลยว่า  นี่คือบทเรียนแห่งประสบการณ์การเล่นหุ้นของตัวเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น